คลีนิคหมอม้า

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศทีมีอากาศร้อนชื้น สภาพอากาศจึงเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลากชนิด ม้าส่วนใหญ่ที่เป็นม้ากีฬาก็มักสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ และมาจากประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น เพราะฉะนั้นการจะดูแลให้ม้ามีสุขภาพดี ผิวพรรณสดใส ปราศจากโรค จึงต้องอาศัยความพยายาม ความเอาใจใส่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องหมั่นทำความสะอาดตัวม้าอย่างถูกวิธี โรคยอดอิตอันดับหนึ่งที่อยากให้พวกเรารู้จัก ที่มักจะเกิดกับม้าที่อยู่ในบ้านเรานั่นคือ

โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราหรือขี้กลาก

เป็นโรคที่แพร่กระจายโดยการสัมผัสโดยตรง ส่วนมากเกิดจากการใช้เครื่องม้า หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดร่วมกัน ภาวะของโรคสามารถแพร่ระบาดไปยังคนได้ เพราะฉะนั้นคนเลี้ยงหรือผู้ขี่จึงต้องระมัดระวังให้ดี

สาเหตุของโรค
การติดต่อของเชื้อปกติจะผ่านการสัมผัสโดยทางอ้อม เช่น การแปรงทำความสะอาจ ผ้าขนหนู อานม้า สายรัดทึบ เป็นต้น มีเพียงบางครั้งเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นผ่านการสัมผัสโดยทางตรงกับม้าป่วย โอกาสของโรคที่จะเิกิดสูงมากยิ่งขึ้นเมื่ออากาศร้อนชื้น แต่ถ้าอยู่กลางแสงแดดจ้าจะมีผลให้สามารถยับยั้งพวกเชื้อราทุกชนิดได้ สปอร์เชื้อพวกนี้จะมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานาน อาจยืนยาวเป็นเวลาหลายปี

อาการของโรค
อาการที่เห็นเริ่มต้นม้าจะแสดงอาการคันรุนแรง โดยการถูคอก เนื่องจากม้าไม่มีนิ้วมือเอาไว้เกาเหมือนคน ซึ่งเราอาจไม่สามารถไปนั่งเฝ้าดูอาการทั้งวันได้ เราก็อาจดูได้จากลักษณะภายนอก เช่น เฉพาะบริเวณที่ติดเชื้อ เช่น ขนบางบริเวณอาจตั้งชัน หรือขนสั้นลง หรือขนร่วง ซึ่งเิกิดจากการถูนั่นเอง ซึ่งถ้าปล่อยไว้ ก็จะทำให้เิกิดแผล และ การลามของเชื้อรา หรืออาจเิกิดเป็นแผลติดเชื้อได้ จากที่กล่าวข้างต้น การแพร่ระบาดของโรค มักเิดจากการใช้วัสดุ อุปกรณ์ร่วมกันนั่นเอง

การดูแลรักษา
ส่วนใหญ่โรคผิวหนังพวกนี้ จะเกิดเป็นเฉพาะบริเวณ ถ้าเลี้ยงโดยการปล่อยแปลง อาจหายเองได้ แต่ต้องใช้เวลาหลายเดือน และมีโอกาสติดต่อกันได้สูง ความสำคัญคือการจำกัดการแพร่ระบาด หรือการลามของเชื้อ อาจช่วยได้โดยให้ยาฆ่าเชื้อรา ทาเฉพาะบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อ เช่น ยาแค็ปแทน ซึ่งมีราคาไม่แพงและใช้กันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะเป็นผง ทำเป็นสารละลาย ๓ เปอร์เซนต์, ยาไอโอดีน(ไอโอดีน ๑ เปอร์เซนต์) และสารซัลเฟอร์ในปูนขาว ๓ เปอร์เซนต์ ทาเฉพาะบริเวณ เป็นต้น
โดยทั่วไป พบว่าการใช้ยาแนทตามัยซิน ทาในรายที่เป็นโรคเชื้อราขี้กลากแบบทั่วตัวในบางรายได้ผลดี หรืออาจร่วมกับการกินยาปฏิชีวนะกรีสซีโอฟูลวิน ขนาดประมาณ ๑๐ มก.ต่อกิโลกรัมต่อวัน เป็นเวลา ๑ – ๒ เดือน แต่เนื่องจากราคาค่อนข้างแพงจึงไม่ค่อยนิยมแพร่หลาย

โรคเสียดท้อง

มักเกิดจากปัญหาการเลี้ยงดู ให้อาหาร และงานไม่สัมพันธ์กัน โดยไม่คำนึงถึงหลักธรรมชาติ โดยจะเกิดปัญหากับระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดทางด้านจิตใจของม้าก็ได้

อาการของโรคที่พบ
ม้าจะมีอาการซึม ไม่กินข้าว ไม่กินน้ำ ได้แต่มาดมๆเท่านั้น และเมื่อเริ่มมีอาการเพิ่มขึ้นม้าจะเริ่มปวดแน่นท้อง โดยจะแสดงอาการใช้ขาคุ้ยพื้น เหลือบมองท้อง ล้มตัวลงนอน หรือ ผลุดลุก ผลุดนั่ง ต่อมาจะพยายามเบ่งท้อง เหมือนจะพยายามถ่ายอุจจาระ จนหมดแรง มันก็จะล้มตัวลงนอน และแสดงอาการทุรนทุรายออกมาให้เห็นชัด

สาเหตุของโรค
สำหรับโรคเสียดนั้นมีมาจากหลายสาเหตุ เช่น ร่างกายขาดน้ำ, มีพยาธิ์, เชื้อราบางชนิด, ขาดสารอาหารไฟเบอร์ซึ่งช่วยในการขับถ่า์ย, ปรับสภาพอาหารใหม่ไม่ทัน, มีสิ่งแปลกปลอมปนกับอาหาร, อาหารข้นไม่มีคุณภาพ, การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ หรือ ให้อาหารก่อนหรือหลังใช้งานโดยกระทันหัน หรือ รวถึงความเครียดของม้าที่ต้องอยู่ในคอกแคบๆ เป็นเวลานานๆ เป็นต้น โดยสามารถแยกชนิดของโรคเสียดได้ดังนี้
๑. เสียดบริเวณกระเพาะอาหาร เกิดจากแบคทีเรียที่ย่อยไม่หมดของอาหาร หรืออาจเกิดจากความเครียดของม้า ซึ่งจะทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร
๒. เสียดบริเวณลำไส้เล็ก อาจเิกิดจากลำไส้พันกันหรือภาวะลำไส้อักเสบรุนแรง
๓. เสียดบริเวณลำไส้ใหญ่ อาจเกิดจากอาหารไม่ย่อยแล้วอุดตันในลำไส้ใหญ่ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรืออาจเกิดจากการบิดของลำไส้ เป็นต้น

การป้องกันและการรักษา
หมั่นตรวจดูการกิน การขับถ่าย ของม้าอย่างสม่ำเสมอ, เลือกใช้อาหารข้นที่มีคุณภาพ มีสารอาหารครบตามที่ม้าต้องการ, เพิ่มเกลือแร่ Electrolyte เพื่อดึงน้ำไว้ในร่างกาย, ลดภาวะที่เิกิดจากการเครียดของม้า เช่น พาม้าไปออกกำลังกาย กินหญ้า ปล่อยแปลง ฯลฯ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

โรคไข้ลงกีบ (Laminitis)

ลามิไนทิส คือ การอักเสบของเยื่อ ลามิน่าในกีบ ทำให้เิกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรง

สาเหตุของโรค
กินเมล็ดพืชหรือข้าวเปลือกมากเกินไป ทำงานบนพื้นที่แข็ง มีไข้สูง เกิดจากการเกิดโรคอื่น เช่น เสียด หรือมีอาการติดเชื้อรุนแรง

อาการของโรค
ม้าแสดงอาการเจ็บขาหน้าแต่อาจเป็นทุกขา ลังเลที่จะเคลื่อนไหว ดึงขาหลังไว้ในตัว(ยืนถ่ายนำ้หนักไปขาหลัง) อุณหภูมิที่เท้าสูงขึ้น ชีพจรที่ข้อเท้าแรงขึ้น

การดูแลรักษา
๑. ยาแก้ปวด – โนวาซิเลน
๒. ยาแก้อักเสบ – บิวตาโซน ฟีนิลอาร์ไทด์
๓. ให้นำ้เกลือ เพื่อกระตุ้นระบบหมุนเวียนและทำให้เส้นเลือดบริเวณกีบขยายตัว
๔. ยืนบนพื้นนิ่ม เช่น แกลบหนาๆ
๕. ให้ยาชาตามเส้นประสาทเพื่อให้ม้าเดิน
๖. แต่งกีบช่วย

หมายเหตุ จุดมุ่งหมายการรักษาเพื่อป้องกันการเคลื่อนของกระดูกในกีบ

การควบคุมป้องกัน
๑. หลีกเลี่ยงการให้อาหารเมล็ดพืชมากเกินไปในสัตว์ทำงานน้อย
๒. หากเกิดโรคบางอย่าง เช่น เกิดเสียดนานๆ หรือโรคติดเชื้อที่มีการสร้างสารพิษ เช่น ท้องเสีย ควรให้ยา (DMSO 1 cc./kg. 3 วัน) และน้ำเกลือ เพื่อลดโอกาสเกิดลามิไนทิส

Like and Share!