ตำนานการขี่ม้าแต่ครั้งโบราณ

ตำนานการขี่ม้าแต่ครั้งโบราณ มนุษย์ได้นำม้ามาใช้เป็นพาหนะขับขี่นับแต่โบราณ กาล แต่จะเริ่มจับม้าป่านำมาใช้ขี่ในปีหรือสมัยใดนั้น เป็นการยากที่จะหาหลักฐานให้ทราบโดยชัดเจนได้ น ิทานปรัมปราของชาวกรีกกล่าวถึงเซนเตาร์อันเป็นลักษณะของสัตว์ประหลาด ต ัวเป็นม้าหัวเป็นคน รามเกียรติ์ของอินเดียซึ่งชาวไทยเรารู้เรื่องดีอยู่ก็ปรากฏสัตว์ประหลาดนั้น ได้แก่ม้ารีศ มีตัวเป็นม้าแต่หัวเป็นยักษ์ นักขี่ม้าผู้สนใจในประวัติการขี่ม้าได้สันนิษฐานว่า เซนเตาร์ของกรีกและม้ารีศของอินเดีย หาใช่สัตว์ประหลาดอย่างใดไม่ แ ต่เป็นคนขี่ม้าธรรมดานั่นเอง ม ีความชำนาญในการขี่ม้าเป็นพิเศษและมีชีวิตใกล้ชิดอยู่กับม้าตลอดเวลาไม่ห่าง กันเลย ค นโบราณถือโชคลางภูตผีปีศาจและเทวดา กล่าวถึงเซนเตาร์และม้ารีศ จึงเป็นไปในทำนองผิดธรรมชาติ รวมเอาคนกับม้าเป็นชีวิตเดียวกันเสีย จ ะได้เกิดความประหลาดมหัศจรรย์เหมาะกับคนในสมัยนั้น

หลักฐานที่พอจะนำมาพิจารณาให้ทราบถึงความ สัมพันธ์ ระหว่างม้ากับมนุษย์นั้นจะหาได้จากรูปเขียน รูปสลักหินโบราณ ซ ึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ของโลกปรากฏว่าชาวอียิปต์และชาวกรีกโบราณ ซึ่งยกย่องม้าว่าเป็นสัตว์อันสูงศักดิ์ นำม้ามาเทียมรถศึกใช้ทำการรบ ด้วยความมุ่งหมายเช่นเดียวกับที่เราใช้รถถังในสมัยนี้ หนังสือไอเลียดของโฮเมอร์ ชาวกรีก อ ันเป็นวรรณคดีสำคัญของชาวกรีกโบราณประมาณพันปีก่อน ค .ส. บรรยาย ความงดงามสง่าของบรรดาเทพเจ้าและผู้กล้าหาญต่าง ๆ บ นรถศึกเทียมม้าแต่ถึงกระนั้นก็ตามไม่ปรากฏว่าในสมัยนั้นทั้งชาวอียิปต์และ กรีกได้ใช้ม้าสำหรับขี่เป็นพาหนะ

 

ในสมัยเดียวกัน ศิลปการขี่ ม้าได้เจริญรุ่งเรืองอยู่ในทวีปเอเชียแล้ว ศ ิลาสลักแผ่นหนึ่งซึ่งอังกฤษสกัดแกะออกจากผนังปราสาทที่เมืองนินิเวท์ของพระ เจ้านิมรอด และบัดนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอังกฤษ แ สดงให้เห็นพระราชาออกล่าสัตว์ทรงม้า ม้าทรงเป็นม้าลักษณะดีเลิศศีรษะเล็กได้ส่วนสวยงาม พ ระราชาก็ทรงม้าได้สง่าสวยงามและเห็นได้ชัดเจนว่าทรงสามารถบังคับม้าได้ดี ยิ่ง แม้ว่าจะวิ่งเต็มฝีเท้า ก็อาจทรงสังหารเนื้อสมันข้างหน้าได้ ม ีมหาดเล็กติดตามสองนาย นายหนึ่งถือลูกธนูสำรอง อีกนายหนึ่งถือหอกของพระราชา เ ครื่องม้าที่ใช้นั้นไม่ผิดกับที่มีใช้ในปัจจุบันนักขาดแต่อานม้าซึ่งยังไม่ เป็นสิ่งรู้จักกันในสมัยนั้น พ ระราชาทรงประทับอยู่บนผ้าปูหลังซึ่งมีลวดลายปกอย่างงดงามมหาดเล็กขี่ม้าหลัง เปล่า

ศิลปะการขี่ม้าได้แพร่หลายเข้าไปในทวีปยุโรป จนราว ๔๐๐ ปี ก่อน ค.ศ. อัศวินผู้ยิ่งใหญ่ชาวกรีกผู้หนึ่งมีนามว่า เซโนโฟน ไ ด้เขียนหนังสือเกี่ยวกับม้าและการขี่ม้าขึ้น นับเป็นหนังสืออันเป็นหลักฐานชุดแรกที่ตกทอดถึงชนรุ่นหลังในสมัยนี้ หนังสือเล่มแรกของ เ ซโนโฟน การขี่ม้าบรรจุข้อความ ๑ ๒ บท กล่าวถึงการขี่ม้าในเรื่องต่างๆ เช่น การเลือกม้า การปฏิบัติบำรุง การเตรียมฝึก การฝึก ก ารข้ามดูและกำแพง และตลอดจน การฝึกม้าชั้นสูงบางอย่างซึ่งในสมัยนี้เราเรียกว่า การขี่ม้าชั้นสูง นอกจากนั้น เซโนโฟน ยังได้กล่าวถึง ก ารมีมือดีในการขี่ม้า ซึ่งเป็นศิลปะสำคัญยิ่งด้วย

ผู้ขี่คุมสติไว้ได้ นับว่าเป็นปัจจัยที่ดี และนิสัยอันเลิศ ความโมโหหุนหันจะทำให้เป็นผู้ปราศจากเหตุผล แ ละนำให้ทำสิ่งซึ่งจะทำให้เสียใจในภายหลัง ในเมื่อม้าแสดงความหวาดกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งขัดขืนไม่เข้าใกล้ผู้ขี่จะ ต้องทำให้ม้าเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่ากลัวเลย โ ดยเฉพาะในเมื่อม้าตัวนั้นเป็นม้าที่กล้าตัวหนึ่งมาเสมอ ทั้งนี้โดยให้ผู้ขี่เดินเข้าไปยังสิ่งที่ม้ากลัวและจับต้อง ค รั้นแล้วจูงม้าเข้าไปยังสิ่งนั้นอย่างสงบเงียบผู้ขี่ซึ่งข่มบังคับม้าโดย อำนาจแส้เท่านั้น จ ะยิ่งทำให้ม้าตื่นยิ่งขึ้น เ พราะม้าจะนึกว่าความเจ็บที่ตนได้รับนั้น เนื่องมาจากสิ่งที่ตนกลัวนั้นเอง

หนังสือเล่มสองของเซโนโฟน ผู้บังคับทหารม้า ก็ยังทันสมัยอยู่เช่นเดียวกับเล่มแรก ๆ โ ดยกล่าวถึงวิธีการฝึกม้าให้เหมาะกับงานที่ต้องใช้ ได้แก่ ม้าสำหรับทหารม้า หลักการอันนี้ยังเป็นหลักการที่นักขี่ม้าทั้งหลายยึดถืออยู่จนสมัยปัจจุบัน นี้

หลังจากเซโนโฟนถึงสองพันปี จึงปรากฏหนังสือเกี่ยวกับการขี่ม้าขึ้นอีกระหว่างเวลานั้น หาได้ปรากฏหนังสือชนิดนี้ขึ้นอีกไม่ นอกจากปลูตาด ได้เขียนเล่าการขี่ม้าของจูเลียดซีซ่าร์ ว่า ขี่ม้าโดยปราศจากเครื่องม้าได้งดงามชำนิชำนาญนัก ช าวโรมันในสมัยนั้นมีทหารม้าเป็นปึกแผ่นและได้รับการฝึกเป็นอย่างดี ในการรบปฏิบัติอยู่ทางปีกของทหารราบ

หลังราชอาณาจักรโรมันพินาศไปแล้ว หน่วยทหา รเคลื่อนที่บนหลังม้ายิ่งทวีความสำคัญยิ่ง ส่วนทหารราบกลับเสื่อมลงทุกที ก องทัพของพระมหาจักรพรรดิ์ชาลมานประกอบด้วยทหารม้าเป็นส่วนมาก ตลอดสมัยกลางนักรบผู้ขี่ม้าจึงเป็นเอกอยู่ในสนามยุทธ ทั้งในดินแดนยุโรปและทั่วไป ส มัยกลางเป็นศตวรรษของอัศวินแห่งสงคราม ค รูเสดนักรบใส่เกราะหนาเข้าทำการประลองฝีมือตามเมืองสำคัญต่าง ๆ เ พื่อหาชื่อเสียงตำแหน่งยศ ด ังนั้นจึงเป็นของธรรมดาที่มาตรฐานการขี่ม้าและการฝึกม้าของอัศวินนักรบเหล่า นั้น ต้องอยู่ในระดับสูงจนถึงฝึกและขี่ม้าชั้นสูง แ ต่เนื่องด้วยเหล็กบังเหียน เดือย และเครื่องม้าอื่น ๆ มีราคาแพงมากจะให้มาตรฐานการขี่ม้าอยู่ในระดับสูงอย่างแท้จริงจึงเป็นไปได้ ยาก

สมัยกลางผ่านไป ประมาณ ปลายศตวรรษที่ ๑๕ จึงปรากฏทฤษฎีการขี่ม้าใหม่ขึ้นอีก หลังจากสมัยโซโนโฟน น ับเป็นระยะเวลาห่างกันถึงสองพันปี แ ต่เป็นทฤษฎีผิดแปลกกันราวฟ้ากับดินข้อความตอนหนึ่งของหนังสือแต่ง โ ดยชาวปารีสนามว่ารอเรนดตอุสราติอุส จัดพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๕๓๓ ม ีว่า ด ังนี้

ม้าพยศต้องปราบให้เชื่อง โ ดยขังไว้ในคอกนาน ๔ ๐ ว ัน เ วลานำมาขี่ต้องใส่เดือยใหญ่และแส้ที่แข็งแรง หรือมิฉะนั้นผู้ขี่ต้องถือท่อนเหล็กยา วประมาณ ๓ ? ๔ ฟุต ป ลายมีขอแหลม สามแฉก ถ้าม้าขัดขืนไม่เคลื่อนไปข้างหน้า ผ ู้ขี่จงใช้ขอแหลมนั้นแทงขาม้าแล้วลากให้มาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าให้จงได้ ค วรให้ผู้ช่วยคนหนึ่งเอาเหล็กร้อนจี้ตรงใต้หางม้า ในขณะเดียวกันนั้น ผ ู้ขี่ลงเดือยให้แรงที่สุดเต็มกำลังที่มีอยู่

อย่างไรก็ตามหนังสือของ รอเรนติอุสราสิอุส หาได้โหดร้ายไปทั่วเล่มไม่ เพราะปรากฏว่า รู้จักใช้บังเหียนปากอ่อนสำหรับฝึกม้าใหม่ และรู้จักมือดีเหมือนกัน

โรงเรียนขี่ม้าที่ดีมีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนั้น ได้แก่ โรงเรียนขี่ม้าเนเปิล ชาวอิตาเลียน ชื่อ เซซาเร เพียสกี้ เป็นผู้จัดตั้งริเริ่มโรงเรียนนี้ขึ้น เป็นที่รู้จักทั่วไปตลอดทวีปยุโรป นานาประเทศพากันส่งนายทหารไปศึกษาวิชาการขี่ม้าในโรงเรียนนี้ อาทิ ปลูวิเนล และเดอลาบลูแห่งกองทัพฝรั่งเศสเป็นที่รับกันโดยทั่วไปว่า โรงเรียนนี้เป็นสถานศึกษาแห่งแรกที่ได้วางหลักการต่าง ๆ สำหรับการขี่ม้า ซึ่งบรรดาประเทศทั่วไปได้ใช้เป็นรากฐานแก่งศิลปะการขี่ม้าและดัดแปลงแก้ไข ให้เหมาะสมครบถ้วนมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

โรงเรียนขี่ม้าเนเปิล เจริญรุ่งเรืองอยู่ตลอดศตวรรษที่ ๑๖ เซซาเรเพียสกี้ ได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งขึ้นใน ค.ศ.๑๕๓๙ สอนการทำวงด้วยวิ่งเรียบและวิ่งโขยก วิ่งเรียบช้า พาสเซศ และ ฯลฯ อาจารย์ขี่ม้าคนถัด ๆ ไปได้จัดพิมพ์หนังสือขึ้นอีกเป็นคราว ๆ เช่น เฟรเดเรโก กรีโซโนซ น่าจักเป็นคนแรกที่ค้นพบวิธีประสานการบังคับและการใช้น่อง ได้จัดพิมพ์หนังสือซึ่งมีผู้นิยมและแปลออกเป็นหลายภาษา การขี่ม้าเจริญขึ้นเป็นลำดับ

ทฤษฏีที่กล่าวมาแล้ว นักม้าชาวอิตาเลียน ชื่อปินยาเตลลี่และลูกศิษย์ฝรั่งเศส วื่อ เดอลาบลู ได้นำมาใช้และดัดแปลงให้ดียิ่งขึ้น เดอลาบลูกลายเป็นบิดาแห่งการขี่ม้าของฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือที่ดีขึ้นหลายเล่มอันเป็นรากฐานความเจริญในการขี่ม้าของ ฝรั่งเศสโดยเท้

โรงเรียนขี่ม้าของฝรั่งเศสกลับมีชื่อเสียง รุ่งเรืองแทนโรงเรียนขี่ม้าเนเปิล ซึ่งเลิกล้มไปโดยสาเหตุการเมือง อาจารย์ขี่ม้าคนสำคัญได้แก่ ปลูวิเนล ซึ่งได้ศึกษาจากโรงเรียนขี่ม้าเนเปิลได้เขียนหนังสือชื่อ การสอนศิลปะการขี่ม้าให้แก่พระราชา เป็นหนังสือที่อ่านสนุกเพราะเนื้อความเป็นไปในทำนองคำสนทนาในระหว่างอาจารย์ ผู้นี้และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๓ ปลูวิเนล ได้แสดงความเห็นว่าจำต้องเอาใจใส่ให้ทราบลักษณะธรรมชาติของม้าและฝึกม้าให้ เป็นม้าที่ดีได้โดยอาศัยความจำของ
ม้าให้เป็นประโยชน์

ในรัชการของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระองค์โปรดความเอิกเกริกโอ่โถงและพิธีการต่าง ๆ การขี่ม้าจึงมีความสำคัญยิ่งขึ้น พระองค์ได้ทรงสถาปนาโรงเรียนแวร์ไซขึ้น เป็นโรงเรียนก่อนโรงเรียนเซมือ อันมีชื่อเสียงยิ่งอยู่บัดนี้

อาจารย์ขี่ม้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในศตวรรษที่ ๑๘ ได้แก่ เดอลาแกวิเนียลแห่งฝรั่งเศส เขียนหนังสือโรงเรียนทหารม้า อันเป็นหนังสือที่แพร่หลายมาก แสดงให้ทราบถึงความเจริญแห่งศิลปะประเภทนี้ เดอลาแกวิเนียล เป็นผู้ริเริ่มการทำงานสองเส้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการฝึกขี่ม้า วิธีการของท่านอาจารย์ผู้นี้ ถูกต้องกับเหตุผลและธรรมชาติ ทั้งยังได้เล็งเห็นความสำคัญของการทรงตัวของม้าและของผู้ขี่ เดอลาแกวิเนียล มีจุดหมายในการฝึกม้าเช่นเดียวกับเซโนโฟน คือให้ม้าเป็นม้าที่ดีที่สุดสำหนับนายทหารซึ่งในขณะทำการรบ ความปลอดภัยและสมรรถภาพของนายทหารย่อมขึ้นอยู่ที่ม้า อยู่ในอาการบังคับและเชื่อฟังเพียงใด การขี่ม้าของทหารมีความสำคัญขึ้นตามลำดับจนแพร่ไพศาลถึงพลเรือน ฉะนั้น ย่อมไม่เป็นที่น่าสงสัยว่า โรงเรียนการขี่ม้าของทหารย่อมเป็นศูนย์กลางของวิทยาการประเภทนี้ ใน ค.ศ.๑๗๗๑ ยุกแห่ง ชัวเชอล ได้สถานปนาโรงเรียนขี่ม้าที่โซมือ ขึ้นรุ่งเรืองมือชื่อเสียงเทียบเท่ากับโรงเรียนขี่ม้าที่เนเปิล เป็นศูนย์กลางของทหารม้า จากกองทัพนานาประเทศจนทุกวันนี้

คองต์ เดาเออ ผู้บังคับการโรงเรียนในปลายศตวรรษที่แล้วมา ได้ดัดแปลงแก้ไขทฤษฏีการขี่ม้าที่โซมือให้เจริญยิ่งขึ้น โดยดัดแปลงการขี่ม้าขั้นสูงให้สอดคล้องต้องกับความจำเป็นในการขี่ม้าสมัย ใหม่ อันได้แก่การขี่ม้าในภูมิประเทศ

ในปลายศตวรรษที่แล้วมา กองทัพบกอิตาเลียนได้เปลี่ยนแปลงทฤษฎีการขี่ม้าทั่วโลก เฉพาะท่านั่งม้าไปข้างหน้า งานนี้เกิดขึ้นจากความอุสาหะพากเพียร และความรักศิลปะการขี่ม้าของ ร.อ.คาปลิลีลี ท่านผู้นี้มุ่งเอาใจใส่โดยเฉพาะการขี่ม้า
ในภูมิประเทศ ได้เห็นและรู้สึกว่าท่านั่งม้าสมัยเก่าซึ่งผู้ขี่ใช้ โกลนยาว และเอนตัวไปข้างหลังนั้นขัดกับธรรมชาติของม้า จึงทำให้ม้าทำงานได้ ไม่เท่าเทียมกับที่ควร เช่นที่ม้าจะทำได้หากปราศจากผู้ขี่ ท่านั่งม้าที่ไม่เหมาะทำให้ผู้ขี่ทำความ เจ็บปวดให้แก่ปากม้า และเอวม้า ผู้ขี่และม้าไม่ไปด้วยกัน ขัดขืนกันอยู่โดยเฉพาะขณะข้ามเครื่องกีดขวาง คาปลิลีลีพยายามหาหนทางวิธีการต่าง ๆ ศึกษา และทดลองด้วยตนเองอยู่หลายปี ก็ยังหาบรรลุความสำเร็จสมใจไม่ ในครั้งนั้นการขี่ม้าแข่งก็ยังใช้โกลนยาวเช่นเดียวกัน บังเอิญวันหนึ่งในอเมริกา ณ สนามม้าแห่งหนึ่ง คนขี่ม้าคนหนึ่งเกิดอุปัทวเหตุ นั่งตรงอยู่บนหลังม้าไม่ได้ จึงโน้มตัวทาบไปบนคอม้า ม้าตัวนั้น ไม่ใช่ม้าตัวเก็งและไม่เคยชนะมาก่อน เลยกลับชนะเป็นหนึ่ง ทิ้งตัวอื่น ๆ ไกล คาปลิลีลี รู้กิตติศัพท์ จึงนำมาทดลองกับการขี่ม้าของตนบ้าง ได้ผลคือ ม้าทำงานได้ดีขึ้น มือไม่รบกวนปากม้าเช่นก่อน การบังคับม้ากระทำได้ดี แต่จำต้องร่นสายโกลนให้สั้นเข้า จึงจะสะดวก คาปลิลีลีทดลองทฤษีของตน ประกอบกับหลักวิชาจนได้ผล แล้วนำออกแสดงให้โลกทราบ โดยขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวางสูง ๒ เมตร ๒๐ เซนติเมตร ที่เมือง ดุริน ได้สำเร็จอย่างสะดวกและงดงาม เป็นที่พิศวงโดยทั่วไปทุกประเทศ คาปลิลีลีทำให้เกิดปัญหาขึ้นในวงการขี่ม้าอิตาเลียน ถกเถียงทดลองกันอยู่เป็นเวลานาน จึงเห็นคุณค่าโดยแท้จริง และยอมรับทฤษฎีของคาปลิลีลีมาใช้สำหรับกองทัพบก คาปลิลีลีถูกแต่งตั้งให้เป็นครูขี่ม้าแห่งโรงเรียนขี่ม้า พินเนโรโล มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงทั้งชาวอิตาเลียนเอง และชาวต่างประเทศอีกเป็นอันมาก คาปลิลีลีตกม้าตายหลังจากที่ได้ตกมาแล้ว ๔๐๐ กว่าครั้ง ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ จะเกิดขึ้น และขณะที่กำลังจะได้รับยศเป็นพันตรี

 

Like and Share!